วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

3. PAN และ SAN คืออะไรจงอธิบาย

SAN (Storage Area Network) เป็นเทคโนโลยีเพื่อช่วยเข้าถึงข้อมูลในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ เพื่อเข้ามาแทนที่การเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลโดยตรงอย่าง Direct Attached Storage (DAS) ซึ่งมีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง เช่น ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ความถูกต้องของข้อมูล หรือ พื้นที่จัดเก็บ ให้เกิดความยืดหยุ่นในการเข้าถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมากกว่า โดยมีพื้นฐานมาจากมาตรฐานเปิดเน็ตเวิร์กโปรโตคอล
PAN เครือข่ายพื้นที่ส่วนบุคคลบลูทูธ (PAN) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ทำให้คุณสามารถสร้างเครือข่าย อีเทอร์เน็ต ด้วยการเชื่อมต่อแบบไร้สายระหว่างคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์แบบพกพาต่างๆ คุณสามารถเชื่อมต่อกับชนิดของอุปกรณ์ที่รองรับบลูทูธซึ่งใช้กับ PAN ได้ดังต่อไปนี้ อุปกรณ์สำหรับผู้ใช้เครือข่ายพื้นที่ส่วนบุคคล (PANU) อุปกรณ์ที่ให้บริการในเครือข่ายเฉพาะกิจแบบกลุ่ม (GN) หรืออุปกรณ์ในจุดเข้าใช้งานเครือข่าย (NAP)

2. สื่อกลางประเภทไม่มีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ

ข้อดี : ติดตั้งเพื่อเชื่อมโยงการติดต่อได้สะดวก เพียงต่ออุปกรณ์เครื่องรับ-ส่งวิทยุกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แล้วตรวจสอบความเรียบร้อยของระบบก็สามารถจะสื่อสารข้อมูลทั้งภายในและภายนอกอาคารได้ เนื่องจากในการสื่อสารด้วยระบบวิทยุจะมีระบบความพร้อมก่อนทำการรับส่งข้อมูล จึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวน
ข้อเสีย : มีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลต่ำ นอกจากนี้ยังต้องทำการขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุกับกรมไปรษณีย์โทรเลขเสียก่อน สำหรับค่าใช้จ่ายในเรื่องของอุปกรณ์สื่อสารนั้นค่อนข้างจะมีราคาแพงกว่าการสื่อสารด้วยสายสัญญาณ

1. สื่อกลางประเภทมีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ

ข้อดี- ราคาถูก
- เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งน้อย
- ใช้อย่างกว้างขวางในระบบโทรศัพท์

ข้อเสีย- อัตราเร็วในการส่งข้อมูลจะน้อยกว่าสายสัญญาณแบบอื่น
- มีข้อจำกัดเรื่องความยาวของสายสัญญาณ

วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

5. จงเรียงลำดับโครงสร้างขอ้มูลของการมองของผู้ใช้งานจากขนาดเล็กไปใหญ่

1. บิท (Bit)
 คือค่าที่เล็กที่สุดที่คอมพิวเตอร์รู้จัก เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยระบบไฟฟ้า และสัญญาณของกระแสไฟฟ้ามี 2 สภาวะ คือสภาวะที่วงจรมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านกับวงจรที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน หรืออีกนัยหนึ่งคือ วงจรเปิดและวงจรปิดสภาวะเช่นนี้ถูกนำมาใช้เทียบกับระบบเลขฐาน 2 โดยมีเลข 0 คือวงจรปิด และเลข 1 คือวงจรเปิด สามารถตรวจสอบได้ง่าย ดังนั้นจึงนำเลขฐาน 2 มาใช้เก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ โดยการสร้างชิป (Chip) ซึ่งเป็นหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงต้องนำบิทมารวมเป็นกลุ่มเพื่อใช้สื่อความหมาย เช่นถ้าใช้ 2 บิท จะสื่อความหมายได้ 4 แบบ คือ 00,01,10,11 และถ้าใช้ 3 บิท จะสื่อความหมายได้ 8 แบบ
 2. ไบท์ (Byte)
 คือการนำบิทมารวมกันเพื่อใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร และสัญลักษณ์ ซึ่งสามารถสื่อความหมายได้ 256 แบบ   ปัจจุบันไบท์เป็นหน่วยที่ใช้วัดขนาดหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์และนับจำนวนตัวอักษร ค่าที่ใช้วัดหน่วยความจำทางคอมพิวเตอร์
 







4. หน่วยที่เล็กที่สุดในการมองของคอมพิวเตอร์

 1. บิท (Bit)
 คือค่าที่เล็กที่สุดที่คอมพิวเตอร์รู้จัก เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยระบบไฟฟ้า และสัญญาณของกระแสไฟฟ้ามี 2 สภาวะ คือสภาวะที่วงจรมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านกับวงจรที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน หรืออีกนัยหนึ่งคือวงจรเปิดและวงจรปิด สภาวะเช่นนี้ถูกนำมาใช้เทียบกับระบบเลขฐาน 2 โดยมีเลข 0 คือวงจรปิด และเลข 1 คือวงจรเปิด สามารถตรวจสอบได้ง่าย ดังนั้นจึงนำเลขฐาน 2 มาใช้เก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ โดยการสร้างชิป (Chip) ซึ่งเป็นหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงต้องนำบิทมารวมเป็นกลุ่มเพื่อใช้สื่อความหมาย เช่นถ้าใช้ 2 บิท จะสื่อความหมายได้ 4 แบบ คือ 00,01,10,11 และถ้าใช้ 3 บิท จะสื่อความหมายได้ 8 แบบ

3. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง

ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์  แบ่งได้ 3วิธี ดังนี้
 1. ขั้นเตรียมข้อมูล
     เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการประมวลผล ซึ่งมี 4 วิธี
  1.1 การลงรหัส
  1.2 การตรวจสอบ
  1.3 การจำแนก
  1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ 
 2.  ขั้นตอนการประมวลผล
  คือ เป็นการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น  มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น
  2.1 การคำนวณ
  2.2 การเรียงลำดับข้อมูล
  2.3 การสรุป
  2.4 การเปรียบเทียบ
3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์
เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ  อาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนำเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์  เป็นต้น                                     

2. ปัจจุบันนิยมประมวลผลด้วยอะไรบ้าง นศ.คิดว่าเพราะอะไร จงให้เหตุผล

1. ด้วยแรงงานคน
2. ด้วยเครื่องอิเล็คทรอนิคส์
 1. การประมวลผลข้อมูลด้วยมือ  เป็นวิธีการที่ใช้กับข้อมูลไม่มากนัก และจะนำอุปกรณ์มาใช้ใน –การเก็บข้อมูล, -การคำนวณ-และการคัดลอกข้อมูล  ได้แก่  แฟ้ม ,เครื่องคิดเลข,ปากกา เป็นต้น
 2. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ เป็นการประมวลผลข้อมูลโดยการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนการทำงานสะดวก ถูกต้องรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เหมาะที่จะใช้เกี่ยวกับ งานการเงิน,สถิติ,และงานบัญชี เป็นต้น